วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้


ความหมายทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้หรือการสอน หมายถึง การจัดสภาพการณ์ สถานการณ์ หรือกิจกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย

คำว่า “เทคนิค” (Techniques) หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน หรือการกระทำต่างๆในการสอน

คำว่า “ทักษะ” (Skill) หมายถึงความสามารถของผู้สอนที่สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ประกอบการสอนได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ชำนาญ



ความสำคัญของทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้

ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะต่างๆที่จำเป็นในการสอน และการจัดกิจกรรม รวมทั้งใช้เทคนิคการสอนได้อย่างเหมาะสม หากผู้สอนขาดทักษะในการสอน นักเรียนอาจเกิดความสับสนไม่เข้าใจในบทเรียน ดังนั้นทักษะและเทคนิคการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสอน

ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้

ทักษะที่ผู้เป็นครูจะต้องฝึกฝน มีดังนี้

1. ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

2. ทักษะการเร้าความสนใจ

3. ทักษะการเสริมกำลังใจ

4. ทักษะการใช้คำถาม

5. ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง

6. ทักษะการสรุปบทเรียน

7. ทักษะการใช้สื่อการเรียนรู้

8. ทักษะการใช้ กิริยา ท่าทาง ประกอบการสอน

9. ทักษะการกระดานดำ

เทคนิคที่สำคัญ มีดังนี้

1. ใช้เพลงประกอบ

2. การจัดการเรียนรู้กลุ่มใหญ่

3. การจัดการเรียนรู้กลุ่มย่อย

4. การจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล


1. ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

การนำเข้าสู่บทเรียนได้เหมาะสม จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในสิ่งที่ครูสอน


วิธีการนำเข้าสู่บทเรียน

1. การใช้อุปกรณ์การสอนที่สัมพันธ์กับเนื้อหา

2. การให้นักเรียนทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน

3. การใช้เรื่องเล่าหรือเหตุการณ์ต่างๆโยงมาสู่เรื่องที่จะสอน

4. การทายปัญหาเพื่อเร้าความสนใจ

5. ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

6. การแสดงบทบาทสมมติเพื่อให้นักเรียนสนใจ

7. การร้องเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่สอน

8. การใช้เกม

9. การสาธิต

2. ทักษะการเร้าความสนใจ

หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อดึงความสนใจของผู้เรียน กิจกรรมดังกล่าวเกี่ยวกับพฤติกรรม 3 ทางได้แก่

1. กิริยา ท่าทางในการสอน

2. สื่อการสอน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน


3. ทักษะการเสริมกำลังใจ

การเสริมกำลังใจมีความสำคัญมากที่จะทำให้ผู้เรียนอยากเรียน ฉะนั้นผู้สอนควรรู้จักการเสริมกำลังใจผู้เรียน


ประโยชน์ของการเสริมกำลังใจ

1. นักเรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น

2. นักเรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น

3. เกิดแรงจูงใจที่จะคิดค้นหาความรู้ยิ่งขึ้น

4. ผู้สอนเห็นความสำคัญการเสริมกำลังใจ

5. ผู้สอนมีบุคลิกภาพดีขึ้น


ประเภทของทักษะการเสริมกำลังใจ

1. เสริมกำลังใจด้วยวาจา เช่น ดี ดีมาก ถูกต้อง เป็นต้น

2. เสริมกำลังใจด้วยท่าทาง เช่น การยิ้ม พยักหน้า การปรบมือ เป็นต้น

3. เสริมกำลังใจด้วยการให้รางวัลและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ให้สิ่งของเมื่อเด็กทำถูกต้อง

4. การเสริมกำลังใจด้วยการให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง



หลักการเสริมกำลังใจ

1. ควรเสริมกำลังใจทันทีเมื่อแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน

2. เลือกวิธีการเสริมกำลังใจให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน

3. วิธีการเสริมกำลังใจควรสอดคล้องกับพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก


เกณฑ์การนำไปใช้

1. เสริมกำลังใจในจังหวะที่เหมาะสม

2. เสริมกำลังใจย้อนหลัง

3. ไม่พูดเกินความจริง

4. ควรเสริมกำลังใจหลายๆวิธี

5. ไม่ควรเสริมกำลังใจบางประเภทบ่อยเกินไป

6. พยายามหาโอกาสเสริมกำลังใจให้ทั่วถึง

7. การเสริมกำลังใจควรเป็นไปในทางบวกมากกว่าทางลบ

8. เสริมกำลังใจให้เหมาะกับวัยและความสามารถ

9. การเสริมกำลังใจไม่ได้มาจากครูคนเดียวควรมาจากสิ่งแวดล้อมด้วย

10. เสริมกำลังใจด้วยท่าทางที่จริงจัง

11. เสริมกำลังใจใช้ท่าทางและวาจาประกอบ


4. ทักษะการใช้คำถาม

เป็นทักษะที่ใช้มากที่สุดในการสอน จึงต้องใช้คำถามหลายๆประเภท จึงจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

ประเภทของคำถาม แบ่งได้ 3 ประเภท

1. คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน ใช้ความรู้เดิมหรือประสปการณ์ เช่น ความจำและการสังเกต

2. คำถามเพื่อคิดค้น ผู้ตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เช่น ความข้าใจ การนำไปใช้ การเปรียบเทียบ เหตุและผล สรุปหลักการ

3. คำถามที่ขยายความคิด เป็นคำถามส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตอบโดยใช้ความคิดเป็นส่วนตัวมากที่สุด เช่น

การคาดคะเน : ถ้าไม่มีดวงอาทิตเราจะเป็นอย่างไร

การวางแผน : ถ้าครอบครัวยากจนเธอจะมีทางช่วยเหลืออย่างไร

การวิจารณ์ : คุณคิดว่าการที่กรุงเทพเป็นเมืองหลวงมีความเหมาะสมเพียงใด

การประเมินค่า : เธอชอบสัตว์เลี้ยงชนิดใดมากที่สุด

เทคนิคการใช้คำถาม

1. ถามด้วยความมั่นใจ

2. ความกลมกลืนในการถาม

3. ถามให้เป็นภาษาพูดง่ายๆ

4. เว้นระยะให้คิด

5. ให้นักเรียนได้มีโอกาสตอบหลายคน

6. ใช้คำถามหลายประเภท

5. ทักษะการอธิบายและเล่าเรื่อง

การอธิบาย หมายถึง การอธิบายข้อความที่สอน

การเล่าเรื่อง หมายถึง การนำเอาเรื่องราวต่างๆมาเล่าหรือพูดให้ผู้ฟังเข้าใจ

การเตรียมการและการเล่าเรื่อง

1. เลือกเรื่องหรือหัวข้อเรื่อง

2. ศึกษาเรื่องหรือหัวข้อนั้นให้ละเอียด

สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่อง ได้แก่

1. อ่านเรื่องนั้นให้ตลอดแล้วจับจุดสำคัญ

2. ควรใช้ภาษาง่าย

3. ลำดับเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ

4. เตรียมอุปกรณ์ไว้ใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องแต่ละตอน

5. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง

กลวิธีในการเล่าเรื่อง

1. การใช้ท่างประกอบการเล่า เช่น การใช้มือ

2. การใช้ภาษาและน้ำเสียง เช่น เสียงหนักเบา

3. การแสดงออกทางสีหน้า เช่น ยิ้มแย้ม โศกเศร้า เป็นต้น

4. การใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่าเรื่อง เช่น หุ่น หนังตะลุง เป็นต้น

6. ทักษะการสรุปบทเรียน

ลักษณะของการสรุปบทเรียน มี 2 แบบ คือ

1. การสรุปด้านเนื้อหาสาระ การเชื่อมโยงความรู้หรือเนื้อหาสาระที่สำคัญเข้าด้วยกัน

2. การสรุปด้านความคิดเห็น เป็นการทำให้เห็นแนวความคิดของการเรียนว่าได้เรียนรู้และเกิดแนวคิดอะไร

วิธีการสรุปบทเรียน

1. สรุปโดยการอธิบายสั้นๆ

2. สรุปโดยใช้อุปกรณ์หรือรูปภาพประกอบ

3. สรุปโดยการสนทนาซักถาม

4. สรุปโดยการสร้างสถานการณ์

5. สรุปโดยนิทานหรือการยกสุภาษิต

6. สรุปโดยการปฏิบัติ เช่น การให้สังเกต การสาธิต และการทดลอง

7. ทักษะการใช้สื่อการเรียนรู้

    1) การเตรียม

1.1 เลือกบทเรียนที่จะนำมาใช้ประกอบการฝึกทักษะ

1.2 จัดทำสื่อการสอน

1.3 สำรวจสื่อการเรียนการสอนทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพดี

1.4 ทดลองใช้ให้คล่องแคล่ว

1.5 สำรวจและจัดเตรียมห้องเรียนให้พร้อม

     2) การเลือก

2.1 เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับวัย สติปัญญาของผู้เรียน

2.2 ขนาดต้องใหญ่พอสำหรับการสอนจริงๆ

2.3 ควรเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่แปลกใหม่

2.4 ไม่ควรใช้สื่อที่ชำรุดหรือเก่าเกินไป

2.5 เลือกใช้สื่อให้สัมพันธ์กับบทเรียนที่สอน

     3) การใช้

3.1 ใช้สื่ออย่างคล่องแคล่ว

3.2 ควรแสดงสื่อให้เห็นทั่วห้อง

3.3 ควรใช้ไม้ยาวและปลายแหลมชี้

3.4 พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม

8. ทักษะการใช้วาจา กิริยา ท่าทาง ประกอบการสอน

     1) การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบท

1.1 เดินดูให้ทั่ว

1.2 ยืนใกล้นักเรียนเมื่อนักเรียนไม่สนใจเรียน

1.3 เดินอย่างสง่า

      2) การใช้มือและแขน

2.1 ใช้มือส่งสัญญาณ เช่น กวักมือเรียก เป็นต้น

2.2 ใช้นิ้วชี้ริมฝีปากเพื่อให้นักเรียนเงียบ

2.3 เคาะโต๊ะเบาๆเมื่อนักเรียนใจลอย

      3) การแสดงออกทางสีหน้า สายตา

3.1 ยิ้มพร้อมพยักหน้ารับ

3.2 ครูควรมีอารมณ์ร่วมด้วยเมื่อนักเรียนทำงานถูกต้อง

3.3 แสดงสีหน้าตั้งใจฟัง

3.4 ใช้สายตากวาดไปทั่วห้อง

     4) การวางท่าและการทรงตัวในขณะที่สอน

4.1 ตรงยืนตัวตรงไม่ยืนตัวงอหลัง

4.2 เท้าทั้งสองไม่ควรชิดกันหรือห่างกันเกินไป

4.3 มีความเป็นตัวของตัวเอง

     5) การใช้น้ำเสียง

5.1 เสียงดังฟังชัด

5.2 ออกเสียงถูกต้อง

5.3 เน้นเสียงพอสมควร

5.4 มีหางเสียงพอควร

5.5 ใช้คำพูดไพเราะ

    6) การแต่งกาย

 - แต่งกายสุภาพ แต่งกายเหมาะสมกับโอกาส

9. ทักษะการใช้กระดานดำ

กระดานดำหรือกระดานชอล์ก เป็นอุปกรณ์ที่ครู ใช้ประกอบการสอนมากที่สุด เพราะมีประจำอยู่ในทุกห้องเรียน ในอดีตสีทีใช้กระดานดำคือสีดำ ทำให้เรียกชื่อว่า “กระดานดำ”

ทักษะการใช้กระดานดำ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่เข้าสอน และลบให้สะอาดทุกครั้งที่เสร็จสิ้นการสอน

2. ถ้ากระดานดำมีความยาวมาก ควรขีดเส้นคั่นแบ่งส่วนของกระดานดำให้เหมาะสม ให้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา

3. การเขียนบนกระดานดำให้เขียนจากซ้ายมือไปขาวมือ

4. ถ้ามีชื้อเรื่องให้เขียนตรงกลางกระดานดำ เขียนให้เป็นระเบียบ อ่านง่าย

5. ขณะเขียนให้ให้ยืนห่างกระดานดำพอประมาณ และควรจับชอล์กทำมุม 45 องศา จับชอล์กให้อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง

6. การเขียนตัวหนังสือ ต้องเขียนให้ถูกอักขรวิธี หัวข้อชัดเจน อ่านง่าย เป็นแถวตรง ขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมควรมีความสูงประมาณ 1 นิ้ว ถ้าเด็กเล็ก ก็ 2 นิ้ว

7. โต๊ะนักเรียนกับกระดานดำให้อยู่ในขอบเขต ทำมุม 60 องศา


10. เทคนิคการใช้เพลงประกอบการจัดการเรียนรู้

เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนรู้ของนักเรียนไปอย่างราบรื่นสนุกสนามไม่เคร่งเครียด

โดยเฉพาะในวัยเด็กประถมศึกษา

ประโยชน์ของการใช้เพลงประกอบการสอน

1. ช่วยเร้าความสนใจ

2. ผ่อนคลายความเครียด

3. จดจำหรือเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างรื่นเริง

4. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

5. ส่งเสริมความกล้าแสดงออก

6. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสุนทรียภาพ เป็นคนมีความอ่อนโยน ละเอียดละไม

7. ช่วยพัฒนาทางด้านสังคม

การเลือกเพลง

1. เพลงสั้นๆ

2. ทำนองไม่ยาก แต่เพราะและประทับใจ

3. เนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียน

4. เพลงสามารถท่าทางประกอบได้

5. เพลงที่คุ้นเคย จะช่วยให้การสอนง่ายและเร็ว

ขั้นตอนการใช้เพลง

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน โดยนำมาร้อง เป็นการเรียกร้องความสนใจ

2. ขั้นสอน สามารถใช้ได้ 2 ลักษณะ คือ ใช้เพื่อคลายอารมณ์และใช้เพลงที่มีเนื้อหาสาระตรงกับบทเรียน

3. ขั้นสรุป เพื่อเกิดความคิดรวบยอด เพื่อเป็นการทบทวนและสรุปบทเรียน

หลักในการสอนร้องเพลง

1. ร้องเพลงเพลงในระดับเสียงไม่สูงไม่ต่ำเกินไป

2. ควรให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม

3. ควรมีจังหวะประกอบเสมอ

4. ควรมีท่าทางประกอบ

5. ให้นักเรียนร้องเพลงและแสดงออกตามอารมณ์เพลง

6. ออกเสียงถ้อยคำต่างๆให้ถูกต้อง

11. เทคนิคการจัดการเรียนรู้กลุ่มใหญ่ คือการสอนที่ใช้กับคนจำนวนมาก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้

ประโยชน์

1. ใช้ได้กับคนจำนวนมาก

2. สร้างทักษะการเรียนรู้พื้นฐาน

3. ให้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้อง

4. ฝึกหาเหตุผล

5. ได้ประสบการณ์ตรงจากผู้สอน

การสอนแบบบรรยาย เป็นการสอนโดยครูหรือวิทยากรบอกรายละเอียด เรื่องราว ผู้เรียนมีหน้ารับฟังและจดบันทึกคำบรรยาย

การสอนแบบสาธิต คือการทำให้ดู แสดงให้ดู เป็นตัวอย่างประกอบคำอธิบาย ผู้เรียนจะได้รับความเข้าใจ ถูกต้องชัดเจน

การสอนแบบฝึกปฏิบัติ เป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง โดยมุ่งผสานทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ

การสอนแบบศึกษานอกสถานที่ พานักเรียนไปศึกษาสภาพจริงนอกห้องเรียน

12. เทคนิคการเรียนรู้กลุ่มย่อย

ประโยชน์

1. นักเรียนอยู่ในสังคมประชาธิปไตย

2. มีทักษะในการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์

3. พัฒนาความรู้ความสามารถ

4. มีโอกาสปะทะสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

5. สามารถเข้ากลุ่มได้ตามความสนใจ

13. เทคนิคการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

เป็นกระบวนการที่กำหนดให้ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสสำรวจตรวจสอบความต้องการของตนเองในการเรียนรู้ว่าตนเองต้องการรู้อะไร มีโอกาสเลือกวิธีสอน ตามความสนใจ